วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของแผนที่



องค์ประกอบของแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
        1 ชื่อแผนที่ ( map name )เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

        2 .ทิศทาง ( direction ) มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ
        3. สัญลักษณ์  ( symbol ) และคำอธิบายสัญลักษณ์ ( legend ) เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสม
             สัญลักษณ์ในแผนที่ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งที่ปรากฏพื้นที่โลกลงในแผนที่ สัญลักษณ์แบ่งได้ 3 ประเภท 
             1. สัญลักษณ์ที่เป็นจุด ( point symbol )ใช้ทดแทนอาคารสิ่งก่อสร้างหรือพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น วัด โรงเรียน บ้าน ศาลา ที่ตั้งของเมือง
             2.สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น ( line symbol )ใช้ทดแทนสิ่งที่มีความยาว เช่น ถนน ทางรถไฟ เส้นทางการบิน เส้นทางการเดินเรือ ท่อน้ำมัน แม่น้ำ
             3. สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ ( area symbol )ใช้ทดแทนพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เช่น ทุ่งหญ้า ป่าไม้ พื้นที่ไร่ เขตที่ราบสูง

 สีที่ใช้ในแผนที่ ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี
                        4.1 สีดำ ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน 
                        4.2 สีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน
                        4.3 สีน้ำเงิน ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล ฯลฯ
                        4.4 สีน้ำตาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ
                        4.5 สีเขียว ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ ป่าไม้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก พืชสวน
                        4.6 สีเหลือง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง
                        4.7 สีอื่นๆ บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่าง รายละเอียดเหล่านี้จะมีบ่งไว้ในรายละเอียดในแผนที่
4. มาตราส่วน ( map scale ) เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใด
       มาตราส่วนแผนที่” มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่
 1. มาตราส่วนแบบเศษส่วน ( representative fraction ) มาตราส่วนที่แสดงด้วยอัตราส่วน 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000 หมายความว่า ระยะทาง 1 ส่วนในแผนที่เท่ากับระยะทาง 50,000 ส่วนบนพื้นผิวโลก
2. มาตราส่วนคำพูด ( verbal scale ) เป็นการบอกมาตราส่วนเป็นคำพูด เช่นถ้ามาตราส่วนแบบเศษส่วนกำหนดว่า 1:5,000 มาตราส่วนคำพูดคือ 1 เซนติเมตร เท่ากับ 0.5 กิโลเมตร หรือ 2 เซนติเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
3.มาตราส่วนเส้น ( graphic scale ) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง ( bar scale ) คือ มาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นหรือรูปแท่งที่มีเลขกำกับไว้ เพื่อบอกความยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก
มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ คือความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ
การเขียนมาตราส่วน เขียนได้หลายวิธี เช่น 1 50,000หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000
การคำนวณระยะทางบนแผนที่
คำนวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ = ระยะ บนแผนที่ระยะในภูมิประเทศ

3 ความคิดเห็น: