วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของแผนที่




            ภูมิศาสตร์ ( Geography ) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยตลอดจนองค์ประกอบด้านมนุษย์ โดยเราสามารถศึกษาได้ 2 ระบบคือ
             1. ระบบกายภาพ คือ การศึกษาลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีวิทยา ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
             2. ระบบสังคมมนุษย์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับประชากร การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ
1. แผนที่
map2.gif



พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า
“ แผนที่ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก (Earth’ surface) และสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature) และที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) โดยแสดงข้อมูลลงบนวัสดุพื้นราบ ด้วยการย่อขนาดให้เล็กลงตามมาตราส่วนที่ต้องการและใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริงบนพื้นผิวโลกลงในแผนที่ ”
แผนที่มีความจำเป็นต่อการศึกษาภูมิศาสตร์มากเพราะมีการกล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกเสมอ ซึ่งหากเรไม่รู้จัก หรือไม่เคยไป เราอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าสถานที่นั้นมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร ตั้งอยู่ที่ไหน แผนที่จะช่วยบอกข้อมูลที่เราต้องการได้



ถ้าเราไม่เคยเดินทางไปสถานที่นั้นมาก่อน แผนที่จะช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังจุดหมายได้ถูกต้อง

ประเภทของแผนที่

1.1 ประเภทของแผนที่
การแบ่งแผนที่ตามลักษณะการใช้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แผนที่อ้างอิง ( general reference map )
เป็นแผนที่ที่ใช้เป็นหลักในการทำแผนที่ชนิดอื่น ๆ แผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ คือ แผนที่ที่ใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา แม่น้ำ เกาะ ถนน เมือง และแผนที่ชุด คือ แผนที่หลายเเผ่นที่มีมาตราส่วนและรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน และครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ชุด L 7018 ของกรมแผนที่ทหาร
1) ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)





          
        
           2) ตัวอย่างแผนที่ชุด

แผนที่ชุด L 7018 ของกรมแผนที่ทหาร

               2. แผนที่เฉพาะเรื่อง ( thematic map )
               เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเพื่อเเสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง มีหลายชนิด เช่น แผนที่รัฐกิจ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่การถือครองที่ดิน แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ท่องเที่ยว

               2.1) แผนที่รัฐกิจ ( political map ) คือแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตจังหวัดหรือประเทศ แผนที่ชนิดนี้จะต้องแสดงอาณาเขตติดต่อกับดินเเดนของประเทศหรือรัฐอื่น พร้อมทั้งแสดงที่ตั้ง ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า หรือเมืองสำคัญอื่น ๆ

แผนที่รัฐกิจแสดงอาณาเขตของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


                 2.2) แผนที่ภูมิอากาศ ( climatic map ) เป็นแผนที่สำหรับแสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศโดยเฉพาะ เช่น แผนที่เขตภูมิอากาศของโลก แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของโลก แผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

     
                  2.3) แผนที่ธรณีวิทยา ( geologic map ) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอายุ ประเภท และการกระจายตัวของหินเปลือกโลก การตกตะกอนทับถมของสารต่าง ๆที่ผิวโลกรวมทั้งแสดงรอยเลื่อนที่ปรากฎบนผิวโลก และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่น ๆ

                  2.4) แผนที่การถือครองที่ดิน ( cadastral map ) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอาณาเขตที่ดินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ในเขตตำบล อำเภอ หรือจังหวัด โดยแบ่งออกเป็นแปลง ๆ และแต่ละเเปลงต่างก็แสดงสิทธิการครอบครองโดยการเเสดงการเป็นเจ้าของ

แผนที่การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน


             2.5) แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ ( natural vegetation map ) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงประเภทของพืชพรรณธรรมชาติและการกระจายตัวของพืชพรรณชนิดนั้น ๆ ที่ปรากฎบนโลก ภูมิภาค หรือประเทศต่าง ๆ  
แผนที่พืชพรรณธรรมชาติแบบร้อนชื้น

                   2.6) แผนที่ท่องเที่ยว ( tourist map ) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำสถานที่นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องสำหรับการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการคมนาคมทั้งทางบก เรือ อากาศ ทีพัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ชายหาด น้ำตก เกาะ แก่ง ภูเขา อุทยาน สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งศิลปวัฒนธรรม สถานบันเทิง สถานที่พักผ่อน ธนาคาร สถานีขนส่ง
ท่าเรือ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล ท่าอากาศยาน 

แผนที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา



เส้นโครงแผนที่



เส้นโครงแผนที่

เส้นโครงแผนที่ ี่
          เส้นโครงแผนที่ คือ วิธีการลงลงเส้นสมมติบนโลกลงบนแผ่นกระดาษ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหลายบนโลกว่ามีรูปร่างลักษณะอย่างไรตามต้องการ เพราะเส้นรอบวงของโลกมีลักษณะเป็นวงรี แต่กระดาษที่เราใช้เป็นพื้นแสดงรูปร่างบนผิวโลกเป็นแผ่นราบ จึงเกิดเส้นโครงแผนที่หลายแบบต่างกันไปตามความคลาดเคลื่อนจากการนำพื้นที่จริง มาแสดงบนพื้นที่ระนาบ โดยใช้เส้นละติจูดและลองจิจูดเป็นเส้นสมมติ ซึ่งเรียกเส้นละติจูดว่า เส้นขนาน และ เส้นลองจิจูด เรียกว่า เส้นเมอริเดียน

           เส้นโครงแผนที่(map projection) เป็นระบบของเส้นที่สร้างขึ้นบนพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน อันเป็นผลจากแบบและวิธีการต่างๆ ของการเขียนแผนที่
ระบบของเส้นโครงแผนที่สร้างขึ้นนี้ อาจทำด้วยวิธีสร้างรูปทรงเรขาคณิตหรือการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์  
การสร้างเส้นโครงแผนที่ คือ การจำลองเส้นขนานและเส้นเมริเดียนจากผิวโลกลงบนพื้นที่แบนราบโดยการสมมุติให้มีจุดกำเนิดแสงอยู่ภายในโลก และฉายผ่านผิวโลกออกมากระทบลงบนจอ ที่วางสัมผัสผิวโลกในรูปแบบต่างๆ ที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ จอแบน (จอระนาบ) จอรูปกรวย และจอทรงกระบอก เส้นโครงแผนที่ที่สร้างจึงแตกต่างกันไปตามลักษณะของจอที่สมมุติให้มาสัมผัสผิวโลก เส้นโครงแผนที่ซึ่งได้จากจอจึงมี 3 รูปแบบ ได้แก่ เส้นโครงแผนที่แบบระนาบ เส้น
โครงแผนที่แบบกรวย และเส้นโครงแผนที่แบบทรงกระบอ
glb.gif
                      
           1.   เส้นโครงแผนที่แบบระนาบ(Planar Projection)

เส้นโครงแผนที่ระนาบหรือแบน เป็นเส้นโครงแผนที่ซึ่งสร้างขึ้นโดยการสมมติให้ฉายแสงออกมาจากภายในโลก ให้เส้นเมริเดียนและเส้นขนานไปแตะลงบนผิวพื้นแบนราบที่สัมผัสผิวโลก ณ จุดใดจุดหนึ่ง เส้นโครงแผนที่แบบระนาบจะรักษาทิศทางได้ดี จึงเรียกเส้นโครงแผนที่ชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า เส้นโครงแผนที่แบบทิศทาง (Azimuthalหรือ Zenithal Projection)
plane.gif (5374 bytes)
           2. เส้นโครงแผนที่แบบกรวย (Conic Projection)  เส้นโครงแผนที่แบบกรวย เป็นเส้นโครงแผนที่ที่สร้างขึ้นโดยสมมุติให้ฉายแสงออกมาจากภายในโลกทำให้เงาของเส้นเมริเดียนและเส้นขนานตกลงบนกรวยที่ครอบผิวโลกอยู่ เมื่อคลี่กรวยออกเป็นแผ่นแบนราบ จะปรากฏเส้นขนานเป็นเส้นโค้งของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกันจึงขนานกันทุกเส้น ส่วนเมริเดียนจะเป็นเส้นตรงลักษณะคล้ายรัศมีแยกออกไปจากยอดกรวยซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม  
scone.gif (6249 bytes)
          3.เส้นโครงแผนที่แบบทรงกระบอก(Cylindrical Projection)   เส้นโครงแผนที่แบบทรงกระบอก เป็นเส้นโครงแผนที่ซึ่งสร้างขึ้นโดยสมมุติให้ฉายเงาของเส้นเมริเดียนและเส้นขนานลงบนวัตถุรูปทรงกระบอกซึ่งโอบล้อมผิวโลกอยู่ เมื่อคลี่วัตถุรูปทรงกระบอกออกเป็นแผ่นราบ เส้นขนานจะเป็นเส้นตรงและขนานกันทุกเส้น ส่วนเส้นเมริเดียนก็จะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับเส้นขนาน
scylind.gif (7576 bytes)

องค์ประกอบของแผนที่



องค์ประกอบของแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
        1 ชื่อแผนที่ ( map name )เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

        2 .ทิศทาง ( direction ) มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ
        3. สัญลักษณ์  ( symbol ) และคำอธิบายสัญลักษณ์ ( legend ) เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสม
             สัญลักษณ์ในแผนที่ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งที่ปรากฏพื้นที่โลกลงในแผนที่ สัญลักษณ์แบ่งได้ 3 ประเภท 
             1. สัญลักษณ์ที่เป็นจุด ( point symbol )ใช้ทดแทนอาคารสิ่งก่อสร้างหรือพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น วัด โรงเรียน บ้าน ศาลา ที่ตั้งของเมือง
             2.สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น ( line symbol )ใช้ทดแทนสิ่งที่มีความยาว เช่น ถนน ทางรถไฟ เส้นทางการบิน เส้นทางการเดินเรือ ท่อน้ำมัน แม่น้ำ
             3. สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ ( area symbol )ใช้ทดแทนพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เช่น ทุ่งหญ้า ป่าไม้ พื้นที่ไร่ เขตที่ราบสูง

 สีที่ใช้ในแผนที่ ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี
                        4.1 สีดำ ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน 
                        4.2 สีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน
                        4.3 สีน้ำเงิน ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล ฯลฯ
                        4.4 สีน้ำตาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ
                        4.5 สีเขียว ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ ป่าไม้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก พืชสวน
                        4.6 สีเหลือง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง
                        4.7 สีอื่นๆ บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่าง รายละเอียดเหล่านี้จะมีบ่งไว้ในรายละเอียดในแผนที่
4. มาตราส่วน ( map scale ) เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใด
       มาตราส่วนแผนที่” มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่
 1. มาตราส่วนแบบเศษส่วน ( representative fraction ) มาตราส่วนที่แสดงด้วยอัตราส่วน 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000 หมายความว่า ระยะทาง 1 ส่วนในแผนที่เท่ากับระยะทาง 50,000 ส่วนบนพื้นผิวโลก
2. มาตราส่วนคำพูด ( verbal scale ) เป็นการบอกมาตราส่วนเป็นคำพูด เช่นถ้ามาตราส่วนแบบเศษส่วนกำหนดว่า 1:5,000 มาตราส่วนคำพูดคือ 1 เซนติเมตร เท่ากับ 0.5 กิโลเมตร หรือ 2 เซนติเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
3.มาตราส่วนเส้น ( graphic scale ) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง ( bar scale ) คือ มาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นหรือรูปแท่งที่มีเลขกำกับไว้ เพื่อบอกความยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก
มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ คือความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ
การเขียนมาตราส่วน เขียนได้หลายวิธี เช่น 1 50,000หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000
การคำนวณระยะทางบนแผนที่
คำนวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ = ระยะ บนแผนที่ระยะในภูมิประเทศ

ประโยชน์ของแผนที่

ประโยชน์ของแผนที่

1. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ จำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย
2. ด้านการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ ของประชาชนภายในชาติ เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่ง และมั่นคง การดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบ ทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร และ แผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ 
4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่
          6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
 นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น
          6.1   ประโยชน์ในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ  แผนที่จะทำให้ผู้ศึกษาทราบว่าพื้นที่ใดมีลักษณะภูมิประเทศแบบใดบ้าง
                    6.2. ประโยชน์ต่อการศึกษาธรณีวิทยา เพื่อให้ทราบความเป็นมาของแหล่งทรัพยากร ดิน หิน แร่ธาตุ
                    6.3 ประโยชน์ด้านสมุทรศาสตร์และการประมง เพื่อให้ทราบสภาพแวดล้อมชายฝั่งทางทะเล
                    6.4  ประโชน์ด้านทรัพยากรน้ำ รู้ข้อมูลเกี่ยวกับแม่น้ำและการไหล อ่างเก็บน้ำ ระบบการชลประทาน
                    6.5 ประโยชน์ด้านป่าไม้ เพื่อให้ทราบคุณลักษณะของป่าไม้ และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้
                    6.6 ประโยชน์ด้านการใช้ที่ดิน เพื่อให้ทราบปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่างๆ
                    6.7 ประโยชน์ด้านการเกษตร การเกษตรมีผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อรู้ว่าบริเวณใดควรพัฒนา
                    6.8 ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรบริเวณต่างๆ
                    6.9 ประโยชน์ในการวางผังเมือง เพื่อใช้ข้อมูลทางธรรมชาติในการจัดวางผังเมืองให้เหมาะสม
                    6.10 ประโยชน์ต่อการศึกษาโบราณคดี เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณ และความรู้อื่นๆ
                    6.11 ประโยชน์ด้านอุตุนิยมวิทยา เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก อุตสาหกรรม ประมง การป้องกันอุทกภัย
                              

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์




          เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ นอกจากจะมีแผนที่แล้วยังมีเครื่องมืออื่น ๆ อีก เช่น ลูกโลก ตารางสถิติ กราฟและแผนภูมิ แผนภาพ
          1. ลูกโลก  คือ สิ่งจำลองของโลก สร้างด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ยาง พลาสติก เพื่อใช้ในการศึกษา ภูมิศาสตร์ ลูกโลกช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโลกต่างจากแผนที่ที่ให้ข้อมูลในเชิงพื้นราบ โลกมีรูปร่างคล้ายผลส้ม แม้จะสามารถจำลองพื้นผิวโลกได้ดีกว่าแผนที่แต่มีข้อเสียบางประการ เช่น ไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวโลกทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือนำติดตัวไป และมีรายละเอียดน้อยกว่าแผนที่
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่และลูกโลก
        - เครื่องหมายแสดงทิศ
        - ทางรถยนตร์
        - ทางรถไฟ
        - เส้นแบ่งอาณาเขต
        - แม่น้ำ
        - จังหวัด
        - อำเภอ

ลักษณะของแผนที่และลูกโลกที่ดี
        - มีมาตราส่วนที่ถูกต้อง
        - แสดงรายละเอียดในเนื้อหาที่จัดทำได้อย่างชัดเจน
        - ควรมีขนาดใหญ่เห็นได้อย่างชัดเจน
        - มีคำบรรยายประกอบสัญลักษณ์
        - ควรมีความแข็งแรงทนทาน
        2. ตารางสถิติ คือ การเเสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่แสดงไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติอุณหภูมิหรือปริมาณฝนของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
            3. กราฟ ( graph ) และแผนภูมิ ( chart ) เขียนขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าของตัวเเปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปรอื่น เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ เพราะจะช่วยให้วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลทีนำมาใช้ได้รวดเร็ว การเปรียบเทียบอัตราส่วนข้อมูล ทำให้สะดวกเเละเข้าใจง่าย กราฟและแผนภูมิมีหลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟรูปแท่ง กราฟวงกลม

         4. แผนภาพ ( diagram ) คือ ภาพที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเรื่องราวทางภูมิศาสตร์บางอย่างเกิดขึ้นในอดีต เช่น การเกิดที่ราบ การทับถมของชั้นหิน และปรากฎการณ์บางอย่างที่มองไม่เห็น เช่น วัฏจักรของน้ำ การเกิดลมบก - ลมทะเล การใช้แผนภาพอธิบายจะทำให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น